มัสยิดทองคำ Jame Ar’ Hassanil Bolkiah Mosque
(ประเทศบรูไน)
มัสยิดทองคำ Jame Ar’ Hassanil Bolkiah Mosque มัสยิดที่สง่างาม และศักดิ์สิทธิ์ของชาวบรูไน ที่ใช้งบประมาณในการสร้างมหาศาล โดยมีการนำเข้าวัสดุการก่อสร้างและตกแต่งจากทั่วทุกมุมโลกใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 7 ปี มีห้องสวดมนต์ 2 ห้องแยกชายและหญิงบันไดทางขึ้นแต่ละชั้นจะมี 29 ขั้น ห้องละหมาดด้านบนตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยพรมสีเหลืองทองดูสว่างไสว จากนั้นนำท่านชมมัสยิด โอมาร์ อาลี ไซฟูดติน มัสยิดเก่าแก่อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบรูไนตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน มัสยิดหลังนี้ออกแบบและดำเนการสร้างโดยสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟัดดินที่ 3 ผู้ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปนิกสมัยใหม่ของบรูไน และเป็นพระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน และมัสยินนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1958 มีความงดงามจนได้ชื่อว่า มินิทัชมาฮาล
เอกลักษณ์
เป็นศูนย์กลางด้านศิลปวัฒนธรรม (Center of Arts) ในระดับชาติ
วิสัยทัศน์
ภายใน 1 ปี เป็นองค์กรด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม
พันธกิจ
๑. ด้านการวิจัย พัฒนาบุคลากร (Standard) เป็นผู้สนับสนุนและดำเนินการวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมภายใต้กระบวนการ "เรียนรู้"
๒. บริการวิชาการ พัฒนาองค์กรเป็นฐานความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม (Center of Arts) ภายใต้กระบวนการ "เสริมแรง"
๓. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม พัฒนาและสร้างเครือข่าย (Network) ด้านศิลปวัฒนธรรมผ่านกระบวนการ "แบ่งปัน"
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินภารกิจ และประสานความร่วมมือด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภายในมหาวิทยาลัย
๒. เพื่อเป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือ และพัฒนาเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรด้านศิลปวัฒนธรรมและอารยธรรมศึกษาภายนอกมหาวิทยาลัย
๓. เพื่อเป็นองค์กรนำด้านการวิจัย และศูนย์กลางองค์ความรู้ทางด้านอารยธรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง - สาละวิน
๔.เพื่อเป็นองค์กรที่พัฒนาองค์ความรู้ และให้บริการวิชาการด้านอารยธรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง - สาละวิน ที่สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
๕.เพื่อเป็นองค์กรที่เสริมสร้างจิตสำนึกด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการสร้างอัตลักษณ์เชิงอารยธรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง - สาละวิน รวมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค
ยุทธศาสตร์
วิจัยอารยธรรมศึกษา
- สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าและวิจัยในระดับต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในการ
- พัฒนาชุมชน ภูมิภาค ระดับชาติ และนานาชาติศึกษา สืบค้น รวบรวม และวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมที่เป็นพื้นฐานต่อการเข้าใจสถานการณ์ วิถีชีวิตของชาติพันธุ์วรรณาในเขตลุ่มน้ำโขง-สาละวิน
บริการวิชาการสู่ชุมชน
- สนับสนุนให้บุคลากรดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บริการ พัฒนาและสร้างสรรค์ชุมชน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากลสู่ชุมชน
- สนับสนุนให้บุคลากรได้ออกปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษาและแนะนำความรู้ทางด้านอารยธรรมในลุ่มน้ำโขง-สาละวินแก่ชุมชน ทั้งในและนอกสถานที่ ตลอดจนเข้าร่วมบริการวิชาการทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
- สนับสนุนให้บุคลากรดำเนินงานด้านอารยธรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง-สาละวินที่เชื่อมโยงกับองค์กรของภาครัฐและเอกชน
- ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายนอกและภายในในการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้
ด้านพิพิธภัณฑ์
- หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดแสดงผลงานศิลปกรรมของศิลปินรุ่นเยาว์ ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินระดับชาติ ศิลปินระดับนานาชาติ เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนา และสืบสานงานศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ
- พิพิธภัณฑ์ผ้า แหล่งสารสนเทศทางวิชาการด้านผ้าไทย ประกอบด้วยห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าไทครั่ง ห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าจิตรลดา ห้องนิทรรศการหมุนเวียน และมุมบริการข้อมูลสารสนเทศ
- พิพิธภัณฑ์ชีวิตจัดแสดงวิถีชีวิตของคนไทยด้านการทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม ที่มีกระบวนการผลิตผ้า ตั้งแต่การปลูกฝ้าย หม่อน จนถึงการทอผ้า
- สวนประติมาธรรม จัดแสดงผลงานประติมากรรมของศิลปินทั่วประเทศ พร้อมให้บริการสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ แก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
- โครงการจัดตั้งหอประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวรและพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตในเขตลุ่มน้ำโขง-สาละวิน
- สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและนวัตกรรมสารสนเทศทางด้านพิพิธภัณฑ์ และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน
- สนับสนุนให้มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการทางด้านอารยธรรมวิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง-สาละวินสู่สาธารณชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น